นับจำนวนผู้เข้าชม

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่
1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด
2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท
3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้
5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน
7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์


ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์
ประวัติความเป็นมาของ วันวาเลนไทน์
โดย
FourBears
ทุก ๆ ปีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดอกกุหลาบสีแดง การ์ดอวยพร ของขวัญ และช็อกโกแลต จะถูกส่งอวยพรถึงกันและกัน ระหว่างคนที่มีความรักต่อกัน ไม่ใช่เพียงแต่คนหนุ่มสาว แต่ยังรวมถึงคนในครอบครัว หรือมิตรสหาย เพราะในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนับเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันแห่งความรัก หรือ วันวาเลนไทน์
ชื่อของ วาเลนไทน์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ วันแห่งความรัก นี้ได้อย่างไร ? และทำไมเดือนกุมภาพันธ์ จึง เป็นเดือนแห่งความรัก ?
ประวัติดั้งเดิมของ วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็น วันแห่งความรัก เกี่ยวพันทั้งกับประเพณีของชาวคริสเตียน และประเพณีดั้งเดิมของชาวโรมัน ที่สืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน ตามความรับรู้ของชาวคริสต์ วันวาเลนไทน์ มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนักบุญที่ชื่อ วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส อย่างน้อย 3 คน ซึ่งทุกคนเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ทั้งสิ้น
ตำนานหนึ่งเล่าว่า วาเลนไทน์ เป็นนักบวชที่มีชีวิตอยู่ในกรุงโรม ในช่วงศตวรรษที่ 3 ของปีคริสตศักราช ในช่วงที่จักรพรรดิ คลอดิอุส 2 ปกครองกรุงโรม พระองค์เห็นว่า ผู้ชายที่เป็นโสด จะทำหน้าที่ทหารได้ดีกว่าชายที่มีภรรยาและครอบครัว พระองค์จึงทรงออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ชายในวัยหนุ่มแต่งงาน เพื่อที่จะกะเกณฑ์ชายหนุ่มที่ยังไม่แต่งงานเหล่านี้มาเป็นทหาร นักบวช วาเลนไทน์ ไม่เห็นด้วยกับจักรพรรดิ คลอดิอุส และเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม จึงยังคงลักลอบทำพิธีแต่งงานให้กับคนหนุ่มสาวที่มีความรักต่อไป เมื่อการกระทำของ นักบวชวาเลนไทน์ ล่วงรู้ถึงหูของจักรพรรดิ คลอดิอุส พระองค์จึงสั่งให้จับกุมและให้ประหาร นักบวชวาเลนไทน์ เสีย
อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า นักบวชวาเลนไทน์ ถูกประหารเพราะพยายามที่จะช่วยเหลือชาวคริสเตียนให้หนีออกจากคุกของพวกโรมัน ซึ่งเวลานั้น ผู้ที่เป็นคริสเตียนจะมีความผิด ต้องถูกนำไปคุมขัง และทรมานด้วยการเฆี่ยนตี
ตำนานที่สามเล่ากันว่า นักบวช วาเลนไทน์ คือผู้ที่ส่ง บัตร “ วาเลนไทน์ ” เป็นคนแรก ในขณะที่นักบวช วาเลนไทน์ ถูกจำคุกอยู่นั้น เขาตกหลุมรักกับหญิงสาวคนหนึ่ง นางเป็นลูกสาวของผู้คุมที่คุกแห่งนั้น ซึ่งนางเข้าไปเยี่ยมในระหว่างที่นักบวชผู้นี้กำลังนอนป่วย ก่อนที่จะถูกประหาร เขาได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงนาง และลงท้ายจดหมายว่า “ จาก วาเลนไทน์ ของเธอ ” ซึ่งเป็นวลีที่ยังใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าความจริงเกี่ยวกับนักบวช วาเลนไทน์ จะเป็นตำนานที่ค่อนข้างสับสน แต่ทุกตำนานก็เป็นเรื่องของความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ ความกล้าหาญ และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของ ความรัก จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ในยุคกลางของยุโรป(ประมาณศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่ 16 ของปีคริสตศักราช) นักบุญ วาเลนไทน์ จะเป็นหนึ่งในนักบุญที่ได้รับความศรัทธามากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษและฝรั่งเศส
ขณะที่บางคนเชื่อว่า วันวาเลนไทน์ คือวันรำลึกถึงการเสียชีวิต หรือวันทำพิธีฝังศพของนักบุญ วาเลนไทน์ ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจจะเริ่มมาตั้งแต่ประมาณปีคริสตศักราช 270 ในบางความเชื่อกล่าวว่า พิธีแสดงความรักต่อนักบุญ วาเลนไทน์ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นประเพณีที่เพื่อแสดงความเป็น คริสเตียน ของนักบวชในศาสนาคริสต์ เพื่อที่จะมาทดแทนเทศกาล ลูเปอร์คาเลีย (Lupercalia) ของชาวโรมันในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่แสดงความรักต่อเทพเจ้าฟอนนัสของชาวโรมัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรม และเทพเจ้ารอมมิวนัส และเทพเจ้าเรมัส เทพเจ้าผู้สร้างกรุงโรม
พิธีเริ่มต้นโดยพวกสมาชิกของ ลูเปอร์ซิ และนักบวชโรมัน ไปชุมนุมกันที่ถ้ำอันศักดิ์ของพวกเขา ซึ่งเป็นที่กำเนิดของเทพเจ้า รอมมิวนัส และ เรมัส ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างกรุงโรม และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูและดื่มนมจากหมาป่า หรือ ลูปา พวกนักบวชโรมันจะทำการฆ่าแพะบูชายัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ และฆ่าสุนัขบูชายัญเพื่อความบริสุทธิ์
จากนั้นเด็กหนุ่ม ๆ จะทำการแล่หนังของแพะออกเป็นชิ้นยาว ๆ นำไปจุ่มในเลือดศักดิ์สิทธิ์ ถือไปตามถนน นำไปแตะที่ตัวผู้หญิง และถือไปตามท้องไร่ท้องนาต่าง ๆ ผู้หญิงโรมันจะเต็มใจให้นำเอาหนังแกะสดที่ชุ่มไปด้วยเลือดมาแตะตามตัว เพราะเชื่อว่าจะนำเอาความอุดมสมบูรณ์มาสู่กรุงโรม จากนั้นในรุ่งขึ้นอีกวัน หญิงสาวชาวเมืองจะพากันเอาชื่อของนางใส่ลงในหม้อขนาดใหญ่ เพื่อให้ชายโสดทั้งหลายมาเลือกชื่อพวกนางจากหม้อใบนี้ และก็เป็นคู่กันไปตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงานกัน สันตะปาปา เกลาเซียส ได้ประกาศเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันนักบุญวาเลนไทน์ เมื่อประมาณปีคริสตศักราช 498 การเลือกคู่แบบโรมัน กลายเป็นสิ่งที่ “ ไม่ใช่คริสเตียน ” และผิดกฎ ต่อมาในสมัยยุคกลางของยุโรป ได้กลายเป็นความเชื่อของคนในอังกฤษและฝรั่งเศสว่า 14 กุมภาพันธ์ เป็นการเริ่มต้นฤดูผสมพันธุ์ของ “ นก ” แล้วก็กลายเป็น วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็น วันแห่งความรัก
เรื่องราวของ วาเลนไทน์ ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังมีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน คือบทกวีที่เขียนโดย ชาร์ลส ขุนนาง แห่ง ออร์ลีนส์ ซึ่งเขียนให้กับภรรยาของเขาขณะถูกคุมขังในหอคอยกรุงลอนดอน เนื่องจากถูกจับกุมในระหว่างสงคราม อะจินคอร์ต บทกวีชิ้นนี้เขียนขึ้นเมื่อปีคริสตศักราช 1415 ถูกเก็บไว้ในห้องสมุด บริติช แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหลายปีต่อมา เชื่อกันว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ได้จ้างวานให้กวีที่ชื่อ จอห์น ไลด์เกต ประพันธ์บทกวี วาเลนไทน์ ให้กับ แคทเธอรีน แห่ง วาโลอิส ในอังกฤษ เทศกาล วันวาเลนไทน์ ได้รับความนิยม มาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 17 ของปีคริสตศักราช
คิวปิด หรือ กามเทพ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักของชาวโรมัน ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ อันหนึ่งของ วันวาเลนไทน์ เนื่องจาก คิวปิด เป็นบุตรของเทพธิดา วีนัส ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความรัก และความงามของชาวโรมัน และมักจะปรากฏอยู่บน บัตรอวยพร วันวาเลนไทน์ อยู่เสมอ
กลางศตวรรษที่ 18 เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับผู้ที่เป็นคนรักกัน หรือ แม้แต่มิตรสหาย ทุกชั้นชน ที่จะแลกเปลี่ยนของขวัญชิ้นเล็ก ๆ หรือส่งจดหมายถึงกัน
จนถึงยุคปัจจุบัน ก็ได้กลายเป็นการส่งบัตรอวยพร การซื้อของขวัญ และการมอบขนมและช็อกโกแลต ให้แก่กัน และจนถึงวันนี้การส่งอีเมล์ และ เอสเอ็มเอส เพื่ออวยพรเนื่องใน วันวาเลนไทน์ ก็อาจจะเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดอีกสื่อหนึ่ง
สถิติของยุโรปและอเมริกา พบว่า ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ที่ใช้จ่ายเพื่อ วันวาเลนไทน์ จะเป็นสตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของ บัตรอวยพร ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นการอวยพรเฉพาะคู่รักเท่านั้น เพราะในวันวาเลนไทน์นี้จะสามารถแสดงออกความรักต่อใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงาน

ประวัติไหว้ครู

ประวัติวันครู
ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ของสังคมและประเทศชาติ
ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และ วิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัด สวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี ีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และ สิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. กิจกรรมทางศาสนา ๒. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ๓. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
คำปฏิญาณตนของครู มีดังนี้
ข้อ ๑. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ข้อ ๒. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ข้อ ๓. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น
ประโยชน์ต่อสังคม
นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
๑. เลื่อมใสการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ๒. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น๓. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือ ทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้๔. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู๕. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงาน โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา๖. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ๗. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตนและไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน๘. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ๙. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา๑๐. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

อยุธยา นครประวัติศาสตร์ เมืองมรดกโลก




หากให้นึกถึงจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน เชื่อว่าหลายคนเป็นต้องนึกถึง "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" เป็นแน่ เพราะที่นี่มีทั้งวัด และพระราชวังต่างๆ มากมาย... ว่าแล้ววันนี้เราถือโอกาสดีๆ พาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า "อยุธยา" กันดีกว่า... เริ่มกันที่ประวัติเก่าแก่คร่าวๆ ของที่นี่กันก่อน... 417 ปีแห่งการเป็นราชธานีเก่าแก่ของสยามประเทศ ประกอบด้วย ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีปฐมกษัตริย์ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ตลอดระยะเวลา 417 ปี ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เป็นเพียงช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือจากการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเอง แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงอัจฉริยภาพและความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักร ผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม และความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล... จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 76 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญต่างๆ มากมาย รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกเพียบ ว่าแล้วเราไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่า ว่าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเนี่ยมีที่ไหนน่าสนใจ"พระราชวังบางปะอิน" อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ได้รับการบูรณะฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับและต้อนรับพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆ เป็นครั้งคราว พระราชวังบางปะอินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอกและเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นนอกใช้เป็นที่สำหรับการออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ ส่วนเขตพระราชฐานชั้นในใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น. (เปิดจำหน่ายบัตร 08.00 – 16.00 น.) อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก นักเรียน นิสิตนักศึกษา (ในเครื่องแบบ ต้องมีบัตรประจำตัวนักศึกษา) 20 บาท พระภิกษุ สามเณร ไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างประเทศ 100 บาท มีทางลาดสำหรับผู้พิการและรถกอล์ฟให้เช่า นอกจากนี้ยังมีบริการเรือ River Jet ออกจากท่าเรือพระราชวังบางปะอิน ล่องรอบเกาะวัดนิเวศธรรมประวัติ ใช้เวลาประมาณ 25 นาที ระหว่างเวลา 9.00 - 15.00 น. (วันเสาร์ - อาทิตย์ ถึง 16.00 น. เรือออกทุกชั่วโมง หยุดวันพุธ – วันพฤหัสบดี) ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพระราชวังบางปะอิน โทร. 0-3526-1044, 0-3526-1549, 0-3526-1673 กันบ้าง...

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติวันสงกรานต์

ประวัติวันสงกรานต์




ประวัติวันสงกรานต์
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"

ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ


สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา
วั น วิ ส า ข บู ช า
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
1. เป็นวันประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เป็นวันตรัสรู้
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )
3. วันปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก

ความหมาย และความสำคัญของวันวิสาขบูชา

ความหมาย และความสำคัญของวันวิสาขบูชา
วั น วิ ส า ข บู ช า
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
1. เป็นวันประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เป็นวันตรัสรู้
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )
3. วันปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก

ความหมาย และความสำคัญของวันวิสาขบูชา

ความหมาย และความสำคัญของวันวิสาขบูชา
วั น วิ ส า ข บู ช า
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
1. เป็นวันประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เป็นวันตรัสรู้
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )
3. วันปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญของโลก

นำพริกมะม่วงเปรี้ยว


น้ำพริกมะม่วงเปรี้ยว
ส่วนผสม
มะม่วงดิบเปรี้ยว
1 ผล
น้ำปลา
2 ช้อนชา
พริกขี้หนู
10 เม็ด (หรือตามชอบ)
กุ้งแห้ง
2 ช้อนโต๊ะ
กะปิเผา
1 ช้อนชา
หอมแดงซอยบางๆ
1 หัว
น้ำตาลทราย
1 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ล้างมะม่วง ปอกเปลือก และสับให้ละเอียดฝานเป็นเส้นเล็กๆ2. โขลกพริกขี้หนูพอแตก ใส่หอมแดง น้ำตาลทราย และกะปิ โขลกให้เข้ากัน3. ใส่มะม่วง กุ้งแห้ง น้ำปลา โขลกพอเข้ากัน ตักใส่ถ้วย เสริฟกับผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือ สะตอ

ความเป็นมาของทะเล อันดามัน


ทะเล อันดามัน" ที่มา ของชื่อ

หลายคนคงชอบชื่ออันไพเราะของ “อันดามัน” ที่ให้ความรู้สึกของท้องทะเลแห่งสีสัน ให้ความรู้สึกอันมีตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ แม้นจะเรียกขานกันจนติดปากติดหู แต่จะมีใครสักกี่คนรู้ว่าชื่ออันดามันนั้นมีที่มาอย่างไร ซึ่งเมื่อสืบเสาะค้นหากันจริงๆ ก็มีข้อมูลที่พอจะเชื่อได้ว่า “อันดามัน” นั้นมีต้นรากมาจากคำว่า “หัวละมาน” ในภาษาอินเดียที่หมายถึงหนุมาน ตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์วรรณกรรมยิ่งใหญ่อันเป็นมหากาพย์ของผู้คนในแถบนี้นี่เอง แต่เอ... แล้วหนุมานจะมาเกี่ยวอะไรกับทะเลอันดามันล่ะ

เมื่อลองมาจับต้นชนปลายกันก็พอจะเกี่ยวข้องกันอยู่มากทีเดียว โดยเฉพาะตอนพระรามจองถนน หรือบางคนก็เรียกตอนหนุมานจองถนน ซึ่งเป็นตอนพระรามจะกรีฑาทัพไปรบกับทศกัณฐ์ที่กรุงลงกา ซึ่งจะต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปนั้น ชามพูวราชได้กราบทูลว่าการที่พระรามจะใช้ฤทธิ์อำนาจยกพลข้ามไปกรุงลงกาเลยนั้นย่อมทำได้ แต่ก็จะไม่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรสมพระเกียรติ จึงเสนอให้พระรามสั่งไพรพลจองถนนข้ามมหาสมุทรไปยังกรุงลงกา นัยว่าจะเป็นถนนสายยุทธศาสตร์อย่างที่มักจะสร้างกันทำกันในพื้นที่ชายแดนหรือพื้นที่สู้รบที่ต้องช่วงชิงความได้เปรียบเสียเปรียบเหมือนที่นิยมทำกันในปัจจุบัน


พระรามเห็นด้วยจึงสั่งให้สุครีพเป็นผู้นำพาไพร่พลไปสร้างถนน สุครีพให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน ทำการขนหินจากภูเขามาช่วยกันถมทะเล แต่นิลพัทกับหนุมานซึ่งมีฤทธานุภาพด้วยกันทั้งคู่สร้างถนนไปก็เกิดเขม่นกันไป และมีการประลองอิทธิฤทธิ์กันไปมา กระทั่งเกิดการต่อสู้กันดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าถูกฝ่ายยักษ์โจมตีจึงให้พระลักษณ์ไปดู เมื่อทราบความจริงจึงทรงกริ้ว เปรียบทั้งสองเหมือนช้างบ้าตกมันเห็นจะทำงานร่วมกันไม่ได้ จึงตรัสสั่งให้นิลพัทไปรั้งเมืองขีดขินทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง หากขาดการส่งจะทำการประหารเสีย และสั่งให้หนุมานทำการจองถนนไปกรุงลงกาให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวัน ไม่เช่นนั้นก็จะมีโทษถึงประหารชีวิตเช่นกัน

หนุมานจึงตั้งหน้าตั้งตาควบคุมไพร่พลขนหินมาจองถนนกันอย่างสุดฤทธิ์ แต่ไม่ว่าจะสร้างเท่าไหร่ถนนที่ทำไว้ก็ยุบพังทลายหายไปในท้องทะเลเสียทุกทีทั้งที่ไม่ได้มีการทุจริตคอรัปชั่นกรวดหินดินทรายกันสักนิด หนุมานจึงขันอาสาพระรามดำดิ่งลงไปดูใต้ท้องทะเล เห็นไหมครับกองทัพพระรามก็มีหน่วยมนุษย์กบหรือหน่วยจู่โจมทำลายใต้น้ำมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว หนุมานดำลงไปก็พบนางสุพรรณมัจฉา บุตรีของทศกัณฐ์ที่มีแม่เป็นปลากำลังนำพลพรรคปลานานาชนิดช่วยกันขนหินที่ฝ่ายลิงถมลงมาไปทิ้งเสีย หนุมานโกรธจึงจับนางสุพรรณมัจฉาไว้ และขู่จะทำร้ายเสีย นางสุพรรณมัจฉาจึงเกิดความกลัวร้องขอชีวิตและยอมสารภาพความจริงว่าทศกัณฑ์เป็นผู้สั่งให้มาปฏิบัติการ

เมื่อสอบสวนไปสอบสวนมาที่สุดหนุมานก็ได้นางสุพรรณมัจฉาเป็นเมีย ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากนางสั่งให้ปลาทั้งหลายช่วยกันขนหินมาคืนตามเดิม หนุมานจึงทำการจองถนนเสร็จในเจ็ดวันตามที่พระรามสั่ง และยังมีลูกด้วยกันกับนางสุพรรณมัจฉาเกิดเป็นมัจฉานุอีกด้วย

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบสุริยะ



ดวงอาทิตย์ (The Sun)
ดวงอาทิตย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบสุริยะ เป็นผู้ดึงดูดให้ดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่และดวงอาทิตย์ยังให้แสงและความร้อนกับดาวเคราะห์นั้นด้วย ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ระบบสุริยะก็จะมืดมิดและหนาวเย็น เมื่อผ่าดวงอาทิตย์ออกมาเป็นชิ้นภายในดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้แข็งเหมือนโลก ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มก๊าซดวงใหญ่ที่ลุกเป็นเปลวไฟ ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม ดวงอาทิตย์ไม่ได้เผาไหม้ด้วยการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซฮีเลียม ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ร้อนที่สุดในรบบสุริยะที่ใจกลาง ดวงอาทิตย์จะร้อนถึง15 ล้านองศาเซลเซียส ความร้อนขนาดนี้เพียงก้อนโตเท่าหัวเข็มหมุดก็จะทำให้คนที่ยืนอยู่ห่าง 150 กิโลเมตรตายได้
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฎเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก
ดวงอาทิตย์สร้างพลังงานขึ้นมาเองโดยการเปลี่ยนเนื้อสารเป็นพลังงานตามสมการของไอน์สไตน์ E = mc2 (E คือพลังงาน, m คือ เนื้อสาร, และ c คือ อัตราเร็วของแสงสว่างในอวกาศซึ่งมีค่าประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) บริเวณที่เนื้อสารกลายเป็นพลังงาน คือ แกนกลางซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ณ แกนกลางของดวงอาทิตย์มีระเบิดไฮโดรเจนจำนวนมาก กำลังระเบิดเป็นปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ไฮโดรเจนหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียม ในแต่ละวินาทีไฮโดรเจนจำนวน 4 ล้านตันกลายเป็นพลังงาน ใน 1 ปีดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับมวลสารของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 2 x 1027 ตัน หรือ 2,000 ล้านล้านล้านตัน หรือ 332,946 เท่าของโลก ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 6,000 เคลวิน ดวงอาทิตย์จึงถูกจัดเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์หลัก อยู่ในช่วงกลางของชีวิต ในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทตย์จะจบ ชีวิตลงด้วยการขยายตัวแต่จะไม่ระเบิด เพราะแรงโน้มถ่วงมีมากกว่าแรงดัน ในที่สุด ดวงอาทิตย์จะยุบตัวลงอย่างสงบกลายเป็นดาวขนาดเล็ก เรียกว่า ดาวแคระขาว

จัดทำโดยนางสาวสุวิชา ปู่ซึ้ง โรงเรียนบ้านทุ่งเอี้ยงสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2โดยการสนับสนุนจากกลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานCopyright (c) 2004 Miss Suwicha Poosung. All rights reserved.