นับจำนวนผู้เข้าชม

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

วรรณกรรม

วรรณกรรม (อังกฤษ: Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
[แก้]วรรณกรรม (อังกฤษ: Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น
วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย
[แก้] วรรณกรรม
ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป
ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้น ๆ หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป

ดนตรีพื้นบ้าน











ดนตรีพื้นบ้านเป็นเสียงดนตรีที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจาซึ่งเรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่านและ เป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นลักษณะกาสืบทอด ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นกิจกรรมการดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานและช่วยสร้างสรรค์ความรื่นเริงบันทิงเป็นหมู่คณะและชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นซึ่งจะทำให้เกิด ความรักสามัคคีกันในท้องถิ่นและปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป

ดนตรีพื้นบ้านของไทย สามารถแบ่งออกตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยได้ดังนี้
ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีดได้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง เครื่องสีได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาดทุ้มเล็ก ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่ ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง
ดนตรีพื้นเมืองบ้านภาคเหนือ ในยุคแรกจะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่า เจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่ากลอง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไป เช่น กลองที่ขึงปิดด้วยหนังสัตว์เพียงหน้าเดียว ได้แก่ กลองรำมะนา กลองยาว กลองแอว และกลองที่ขึงด้วยหนังสัตว์ทั้งสองหน้า ได้แก่ กลองมองเซิง กลองสองหน้า และตะโพนมอญ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ย่ะเอ้ ปี่แน ปี่มอญ ปีสรไน และเครื่องสี ได้แก่ สะล้อลูก 5 สะล้อลูก 4 และ สะล้อ 3 สาย และเครื่องดีด ได้แก่ พิณเปี๊ยะ และซึง 3 ขนาด คือ ซึงน้อย ซึงกลาง และซึงใหญ่ สำหรับลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีการผสมทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ และยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ป่าเขา เสียงลมพัดใบไม้ไหว เสียงน้ำตก เสียงฝนตก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น จนในระยะที่ 3 ได้นำหนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น โดยนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือ และอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง ๆเช่น ลำผีฟ้า ที่ใช้แคนเป่าในการรักษาโรค และงามศพแบบอีสานที่ใช้วงตุ้มโมงบรรเลง นับเป็นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านอีสานที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ
ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดรตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่า จะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาด ต่าง ๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากกของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่าเช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะการแสดงและดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจากภาคกลางนอกจากนี้ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบการละเล่นแสดงต่างๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีต้าร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดน ไทย- มาเลเซีย ดังนั้นลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น

วรรณคดีไทย


รายชื่อวรรณคดีของไทย ซึ่งเป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมไทยที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์
วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลง
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
กากีกลอนสุภาพ
กาพย์มหาชาติ
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กาพย์เห่เรือ
กำสรวลศรีปราชญ์
ไกรทอง
กาพย์พระไชยสุริยา
แก้วหน้าม้า
[แก้] ข
ขุนช้างขุนแผน
ขวานฟ้าหน้าดำ
[แก้] ค
โคบุตร
โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
โคลงทวาทศมาส
โคลงนิราศพระยาตรัง (นิราศถลาง)
โคลงนิราศหริภุญชัย
โคลงพยุหยาตราเพชรพวง
โคลงโลกนิติ
[แก้] ง
เงาะป่า
[แก้] จ
จันทโครพ
จินดามณี
[แก้] ช
ไชยเชษฐ์
ไชยทัต
[แก้] ด
ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)
[แก้] ต
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา)
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
[แก้] ท
ทวาทศมาส (โคลงทวาทศมาส)
ทศรถสอนพระราม
ท้าวแสนปม
[แก้] น
นันโทปนันทสูตรคำหลวง
นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)
นิราศกวางตุ้ง (นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน)
นิราศเดือน
นิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย (โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย)
นิราศถลาง(โคลงนิราศพระยาตรัง)
นิราศทวาราวดี
นิราศนครวัด
นิราศนครสวรรค์
นิราศนรินทร์
นิราศธารทองแดง (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง)
นิราศธารโศก (โคลงนิราศพระบาท)
นิราศไปตรัง(เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ นิราศไปตรัง)
นิราศพระแท่นดงรัง
นิราศพระบาท
นิราศพระประธม
นิราศพระยาตรัง
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน (นิราศกวางตุ้ง)
นิราศภูเขาทอง
นิราศเมืองแกลง
นิราศเมืองเพชร
นิราศรัตนะ
นิราศรำพึง (รำพันพิลาป)
นิราศลอนดอน
นิราศวัดเจ้าฟ้า
นิราศษีดา (ราชาพิลาปคำฉันท์)
นิราศสุพรรณ
นิราศอิเหนา
นิทานทองอิน
[แก้] ป
ปุณโณวาทคำฉันท์
ปลาบู่ทอง
[แก้] ป
ปฐมสมโพธิกถา
[แก้] พ
พระไชยสุริยา
พระนลคำฉันท์
พระนลคำหลวง
พระมะเหลเถไถ
พระมาลัยคำหลวง
พระรถคำฉันท์
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระเวสสันดร
พระสุธนคำฉันท์
พระอภัยมณี
พาลีสอนน้อง
เพลงยาวถวายโอวาท
เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ นิราศไปตรัง
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
เพลงยาวพระยาตรัง
เพลงยาวของพระยามหานุภาพ
เพลงยาวหม่อมภิมเสน
พิกุลทอง
[แก้] ม
มณีพิชัย
มหาชาติคำกาพย์ (กาพย์มหาชาติ)
มหาชาติคำฉันท์
มหาชาติคำหลวง
มหาเวสสันดรชาดก (พระเวสสันดร)
มัทนะพาธา
[แก้] ย
ยวนพ่ายโคลงดั้น
ยอพระกลิ่น
ยุขัน
[แก้] ร
ระเด่นลันได
ราชสวัสดิ์
ราชาธิราช
ราชาพิลาปคำฉันท์
รามเกียรติ์
รำพันพิลาป
[แก้] ล
ลักษณวงศ์
ลิลิตนิทราชาคริต
ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
ลิลิตพระลอ
ลิลิตเพชรมงกุฎ
ลิลิตยวนพ่าย (ยวนพ่ายโคลงดั้น)
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตศรีวิชัยชาดก
ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า, โองการแช่งน้ำ)
[แก้] ว
เวนิสวาณิช
วิวาห์พระสมุทร
[แก้] ศ
ศกุนตลา
ศรีธนญชัย
ศิริวิบุลกิตติ
[แก้] ส
สมบัติอมรินทร์คำกลอน
สมุทรโฆษคำฉันท์
สรรพสิทธิ์คำฉันท์
สวัสดิรักษา
สังข์ทอง
สังข์ศิลปชัย
สามัคคีเภทคำฉันท์
สาวิตรี
สิงหไตรภพ
สุบินกุมาร
สุภาษิตพระร่วง (บัญญัติพระร่วง)
สุภาษิตสอนหญิง
สุวรรณหงส์
เสือโคคำฉันท์
สมุทรโคดม
โสนน้อยเรือนงาม
[แก้] ห
หม่อมเป็ดสวรรค์
หลวิชัยคาวี
[แก้] อ
อนิรุทธ์คำฉันท์
อภัยนุราช
อาบูหะซัน
อิลราชคำฉันท์
อิเหนา
อิเหนาคำฉันท์ - เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บทละครเรื่องดาหลัง - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
นิราศอิเหนา - สุนทรภู่
อิเหนาคำฉันท์ - กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
อุณรุทร้อยเรื่อง
โองการแช่งน้ำ
[แก้] อ้างอิง
เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช (พิมพ์ครั้งที่ 12) พ.ศ. 2544านเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7

นิทานอีสป



ใครหนอ...สร้างนิทานอีสป
นิทานที่ได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากที่สุดรวมถึงในประเทศไทยด้วย คงหนีไม่พ้นนิทานอีสป ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวสนุกสนานแล้วด้านหลังเล่มยังมีคติสอนใจจากเนื้อเรื่อง ด้วยคำว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...
หลายคนนึกสงสัยว่า ใครหนอ ช่างคิดเรื่องราวที่สนุกและแฝงแง่คิดที่ใช้ได้ไม่ล้าสมัยน้า...
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยให้หายสงสัย
"นิทานอีสป" มีต้นกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรกรีกโบราณ ซึ่งเจ้าของเรื่องเล่าอันสุดแสนสนุกไม่ใช่นักปราชญ์แต่เป็นทาสที่ไร้การศึกษาแต่เปี่ยมไปด้วยเชาวน์ปัญญาต่างหาก!!!
และชื่อของเขาคือ อีสป ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนิทานอีสปนั่นเอง
อีสปเป็นชายผิวสีชาวแอฟริกาที่มีชีวิตอยู่ในนครรัฐกรีกและต้องการทำมาหากินโดยการขายตัวเป็นทาส แต่โชคร้ายที่รูปร่างหน้าตาของเขาไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานที่พิจารณาคนที่มีความสามารถด้านการต่อสู้เป็นหลัก แต่พระเจ้ากลับประทานมันสมองอันเลอเลิศให้แก่อีสปเป็นการตอบแทน เขาจึงหันมาใช้สติปัญญาในการหาเลี้ยงชีพแทนการใช้กำลัง
สุดท้ายแล้วอีสปก็สามารถเอาชนะใจคนกรีกได้ ด้วยการเล่าเรื่องธรรมดาๆ แต่สอดแทรกด้วยปรัชญา แง่คิด และคติสอนใจต่างๆ ซึ่งเมื่อใครได้ฟังก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ อีกทั้งยังนำคติสอนใจที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเองได้ด้วย
ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรื่องราวจากอีสปก็คือ เขาจะใช้ตัวละครที่เป็นสิงสาราสัตว์ทั่วไป เช่น "หมาป่ากับลูกแกะ, สุนัขกับเงา, ราชสีห์กับหนู" หรือ "สุนัขจิ้งจอกกับกา" เป็นต้น
ความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำราหรือในระบบการศึกษาเท่านั้น หากเรารู้จักค้นคว้าหาความรู้รอบตัวก็จะเป็นคนฉลาดแบบอีสปได้เหมือนกันนะ

ตอนที่
ชื่อตอน นิทานอีสป
1
กบกับหนู
2
กวางป่ากับพวงองุ่น
3
กากับนกนางเเอ่น
4
กาบ้ายอ
5
กาหลงฝูง
6
กาอยากเป็นหงส์
7
ไก่ฟ้ากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์
8
เเกะกับหมาป่า
9
คนเลี้ยงเเพะ
10
คนกับเงาของลา
11
คนขี้เหนียวกับทองคำ
12
คนตัดไม้กับเทพารัักษ์
13
คนตัดไม้กับสุนัขจิ้งจอก
14
คนหาปลา
15
คนหาปลากับพราน
16
คางคกกับสุนัขจิ้งจอก
17
ค้างคาวเลือกพวก
18
ชายโง่กับต้นไผ่
19
ชายพเนจรอกตัญญู
20
ชาวนากับเทพารักษ์
21
ชาวนากับงูเห่า
22
ชาวนากับสิงโต
23
เด็กเลี้ยงเเกะชอบปด
24
เด็กโลภ
25
เด็กซุกซนกับหมาป่า
26
ต้นโอ๊กผู้ยิ่งใหญ่
27
ต้นสนอวดดี
28
ตั๊กเเตนผู้หิวโหย
29
เทียนเเข่งเเสง
30
นกกระเรียนกับหมาป่า
31
นกยางได้ใจ
32
นกสาวมีลูก
33
นักรบไร้ผม
34
นักดูดาว
35
นางเเมวมีรัก
36
นางสิงห์
37
ปลาโลมากับสิงโต
38
ผึ้งขอพร
39
ผู้ใหญ่ช่างสอน
40
พรานใหม่ผู้กล้าหาญ
41
ราชสีห์กับหนู
42
เเพะกับสิงโต
43
เเพะอยากกินน้ำ
44
ม้ากับหมาป่า
45
ม้าพยาบาท
46
เเม่เหยี่ยวกับลูก
47
เเม่กวางกับลูก
48
เเมงป่องกับเด็ก
49
เเม่ตุ่นกับลูกตุ่น
50
เเม่ปูสอนลูก
51
เเมลงวันตะกละ
52
เเมลงวันหัวเราะ
53
เเมวผู้หวังดี
54
เมื่อสุนัขกัด
55
ลาเจ้าอุบาย
56
ลาโง่กับสิงโต
57
ลาใจดำ
58
ลากับม้าทหาร
59
ลาทะนงตน
60
ลาลืมตน
61
ลาหลายนาย
62
ลาอยากร้องเพลง
63
ลิงอวดเก่ง
64
ลูกเเกะรู้ทันหมาป่า
65
ลูกกวางกับทะเล
66
ลูกชาวนากับมรดก
67
ลูกสาวกับพ่อ
68
ลูกอึ่งอ่างกับเเม่
69
วัวกับเเมลงหวี่
70
วัวสามสหาย
71
วัวหนุ่มกับวัวสาว
72
สองเกลอกับขวาน
73
สองสาวใช้กับไก่
74
สามขุนนาง
75
สามีผู้ใจดี
76
สิงโตกับที่ปรึกษา
77
สุนัขเฝ้าบ้าน
78
สุนัขจิ้งจอกในดงหนาม
79
สุนัขจิ้งจอกกับไก่บ้าน
80
สุนัขจิ้งจอกกับฝูงเหลือบ
81
สุนัขจิ้งจอกกับลา
82
สุนัขจิ้งจอกกับหมี
83
สุนัขจิ้งจอกกับสิงโต
84
สุนัขผู้ซื่อสัตย์
85
สุนัขรับเชิญ


มวยไทย


มวยไทย คือศิลปะการต่อสู้ของคนไทย ที่ใช้หมัด ศอก แขนท่อนล่าง เท้า แข้ง เข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ และลำตัวในการต่อสู้ ศิลปะการต่อสู้ลักษณะนี้ สามารพบเห็นได้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกตัวอย่างเช่นกัมพูชา เรียกว่า ประดั่ญ เซเรีย ขอมมวย(Pradal Serey) ลาว เรียก มวยลายลาว(มวยเสือลากหาง)ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ ครูมวย ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน/ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย)และจะมีการแข่งขันต่อสู้/ประลองกันในงานวัดและงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล/เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตนเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ(ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย(อิหร่าน)จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือในการต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำที่วังสวนกุหลาบทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย/ครูมวยชาวไทยด้วยกันและการต่อสู้ระหว่างนักมวย/ครูมวยต่างชาติ ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเว ทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่งขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน ในการแข่งขันชกมวยในสมัย ร.๖ ระหว่างมวยเลี่ยะผะ(กังฟู)ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัดเหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่

ปลากัด


ปลากัด.......พูดได้เลยว่าคนไทยทุกคนต้องรู้จัก ปลากัด เป็นอย่างดี แต่หากจะถามว่าใครเพาะ ปลากัด และ เลี้ยงปลากัด ตั้งแต่ ปลากัดตัวอนุบาลบ้าง คงเป็นกลุ่มที่เล็กลงมา แล้วถ้าถามต่อว่าใครเป็นผู้พัฒนาสาย ปลากัด บ้าง นี้ก็ยิ่งน้อยลงไปอีก แล้วคุณล่ะครับคิดจะเลี้ยง ปลากัด ให้อยู่ใน ระดับไหน ถ้าจะพูดถึงเวปนี้ เริ่มเปิดขึ้นมาได้ช่วงระยะเวลาสั้นๆและก็มีการปรับปรุงรูปแบบพัฒนาไปพร้อมๆกัน เหมาะสำหรับมือใหม่ๆที่สนใจใน เรื่องราวของปลากัด ไม่ว่าจะเป็นปลากัดสวยงาม หรือ ปลากัดสายกัด หากคุณเป็นคนนึงที่ต้องการเรียนรู้เรื่อง การเพาะปลากัด การอนุบาลปลากัด การฟอร์มปลากัด หรือไม่ว่า จะต้องการหา สายพันธุ์ปลากัด หรือต้องการขาย สายพันธุ์ปลากัด ที่ตัวเองเป็นคนเพาะขึ้นมา เวปนี้ก็เหมาะ สำหรับคุณผู้ ที่กำลังอ่านและ รักปลากัด แล้วล่ะครับ สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับ คนรักปลากัด ที่เข้ามาใหม่ อยากให้ลองเข้า webborad ของเวปนี้ก่อน แล้วคุณจะได้อะไรมากมายมากกว่า การเลี้ยงปลากัด เวปบอร์ด ปลากัด นี้จะมีการอับเดทข้อมูลเกี่ยวกับปลากัดทุกๆวัน ทำให้คุณไม่ตกข่าวสารของ วงการปลากัด ถ้าคุณจะ พัฒนาสายปลากัด แล้วคุณจะหยุดนิ่งไม่ได้ และหากต้องการถามปัญหาเกี่ยวกับ ปลากัดที่คาใจ ก็มีเพื่อนๆ คนรักปลากัด พร้อมจะแนะนำ ให้คุณสามารถเลี้ยงปลากัดได้อย่างราบรื่น แล้วพบกันในบอร์ดนะครับ