นับจำนวนผู้เข้าชม

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปลาทับทิม

ปลานิล



ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

ปุ๋ยชีวภาพ




คุณรู้จักการใช้ EM แล้วหรือยัง ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ วิธีทําปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ จากการที่ คุณอภิชาติ ดิลกโสภณ ได้ “เก็บเอามาเล่า” นั้น ผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผลสำเร็จคือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการ ตามแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนในภาคการผลิตและอุตสาหกรม ดังนั้น การรู้จักวิธีใช้ การปรับใช้ให้เข้าใจ ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล ขอเพียงมีความขยันหมั่นเพียร อดทนตั้งใจจริง ไม่พึ่งพาสารเคมี จะนำมา ซึ่งสภาพชีวิตที่ดี สังคมและประเทศชาติก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน ทุก วันนี้กระแสและความตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งมีความ สำคัญอย่างยิ่งกำลังมาแรง ทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย จึงหันมาใช้กรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ กันแล้วอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย เนื่องจากใช้สารเคมีมานาน ๆนับสิบ ๆ ปี ทำให้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่อยู่ในดินและบนดินตายไปหมด เราต้องช่วยกันคืนจุลินทรีย์กลับบ้าน ซึ่งจะทำให้ดินที่เป็นรากฐานของชีวิตกลับเป็น “ดินมีชีวิต” อีกครั้ง เพื่อผลิตพืชผลปลอดภัย เลี้ยงมนุษยชาติต่อไป การใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรชีวภาพ หรือเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย ขณะนี้มีอยู่หลายรูปแบบ หลายวิธี อาทิ การใช้ผักมาหมักกับกากน้ำตาล ได้น้ำสกัดชีวภาพ บางคนใช้สารเร่ง ซึ่งมีตั้งแต่ พด. 1 ถึง พด. 9 ของกรมพัฒนาที่ดินบางคนใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปอัลจินัว ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บางคนใช้แค่มูลสัตว์เท่านั้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีใช้เวลา ต้นทุน และกรรมวิธีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอแนะนำการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้เกษตรกร และผู้สนใจนำไป ใช้เพราะราคาถูก ทำได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา ปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์จากหลาย สถาบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ได้ดี ไม่มีอันตรายกับคนหรือสัตว์ และเมื่อเรารู้จักการใช้จุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพดีพอจะสามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี 1. ปุ๋ยชีวภาพ อีเอ็ม (EM) คืออะไร EMย่อมาจาก Efective Microorganisms หมาย ถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวความคิดเรื่อง “ดินมีชีวิต” ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของ โลก จากนั้น ดร.อิหงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลปรากฏว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณ ประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10% 2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10% 3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80%จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลัง ขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป ปุ๋ยชีวภาพ จุลินทรีย์มี 2 ประเภท 1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Gacteria ) 2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria) จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มี ประโยชน์ต่อพืช สัตย์ และสิ่งแวดล้อมารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Aynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กระดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใน ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้ หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้ เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย ปุ๋ยชีวภาพ ลักษณะทั่วไปของEM EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM เป็นสิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้ • ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและยาฆ่า เชื้อต่างๆ ได้ • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต • EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย ปุ๋ยชีวภาพ การดูแลเก็บรักษา 1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท 2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ 3. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปหะปน 4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม ข้อสังเกตพิเศษ • หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าวัชพืชที่ไม่ต้องการได้ • กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัวเมื่อเขย่าภาชนะฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้ • เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟอง ขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล 2. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปสู่ชาวโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มี พิษภัย มีแต่ประโยชน์ ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและมุ่ง เน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและองค์กรทั่วโลกแล้วกว่า 30 ประเทศ อาทิ International Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Movement (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรัฐอเมริกา ซี่เป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติได้ ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ.1993 ว่าเป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100% สำหรับในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้นำไปวิเคราะห์แล้วรับรองว่าจุลินทรีย์ EM ไม่เป็น อันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ จึงสามารถนำ EM ไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ดังนี้ 1. ใช้กับพืชทุกชนิด 2. ใช้กับการปศุสัตว์ 3. ใช้กับการประมง 4. ใช้กับสิ่งแวดล้อมวัตถุประสงค์หลักของการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ 1. ลดต้นทุนการผลิต 2. ผลผลิตปลอดสารพิษและสารเคมี รักษาสิ่งแวดล้อม 3. ผลผลิตสูงมีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติดี 4. สุขภาพผู้ผลิต และผู้บริโภคแข็งแรงมีพลานามัยดี 5. ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ และจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคพัฒนาคุณภาพชีวิต 6. เป็นวิธีง่ายๆ ใครก็ทำได้ 3. จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ EM มีประโยชน์อย่างไร การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต หรือ ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้ทำการแปรสภาพ วิธีใช้และประโยชน์ EM สด 1. ใช้จุลินทรีย์น้ำกับพืช • ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ ฉีด พ่นราด พืชต่างๆ ให้ทั่วจากดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม • พืช ผัก ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน • ไม้ดอก ไม้ประดับ เดือนละ 1 ครั้ง การใช้ จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรียวัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง ฯลฯ เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป 2. ใช้ในการทำ EM ขยายจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้งและอื่น • (ดูรายละเอียดในการทำ ) 3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล) • ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง • ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาด กำจัดกลิ่น • หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน ฯลฯ 4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม • ใส่ห้องน้ำ – ห้องส้วม ใส่โถส้วมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์ละ ½ แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม • กำจัดกลิ่น ด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาล ในอัตรา ส่วน 1:1:1,000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1 ลิตร ) ฉีด พ่น ทุก 3 วัน • บำบัดน้ำเสีย 1:10,000 หรือ EM 2 ช้อนโต๊ะ :น้ำ 200 ลิตร • ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร (ดูรายละเอียดในการทำ) • แก้ไขท่ออุดตัน EM 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ 5-7 วัน / ครั้ง • ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน • กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำ - ใช้ ฉีด พ่น หรือ ราดลงไปในแหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. - กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำ แล้วแต่สภาพความแห้ง หรือ ความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วน - ขยะแห้งประเภทกระดาษ ใบตอง เศษอาหารใช้ฉีดพ่น อัตรา EM ขยาย 1 ส่วนผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร ปุ๋ยชีวภาพ วิธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย1. ใช้กับพืชเหมือน EM สด2. ใช้กับสัตว์ • ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน • ผสมน้ำ 1 : 1,000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น • ผสมน้ำ ในอัตรา : 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้ง เป็นอาหารสัตว์3. ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ จุลินทรีย์แห้ง เหมือนใช้ EM สด • (ดูรายละเอียดในการทำ) 4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด ประโยชน์ของจุลินทรีย์แห้ง1. ใช้กับพืช • รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง • คลุมดิน คือ โรยผิวดิน บนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้ • ใส่ถุงแช่น้ำอัตรา 1 กก. : น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไป รดพืช ผัก2. ใช้กับการประมง • เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงน้ำ • เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง • ผสมอาหารสัตว์3. ใช้กับปศุสัตว์ • ผสมอาหารให้สัตว์กิน 4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม • เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับEM ขยาย • เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย • ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำจุลินทรีย์น้ำ • ใช้ในขยะเปียกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป 4. วิธีการผลิต EM ขยาย ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน และสารไล่แมลงศัตรูพืช 4.1 EM ขยาย คือการทำให้ได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรง มีประสิทธิภาพเพิ่มจำนวนมากโดยการ ใช้อาหารประเภทกากน้ำตาลหรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้ส่วนผสม 1. EM 2 ช้อนโต๊ะ 2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ 3. น้ำสะอาด 1 ลิตร วิธีทำ • ใส่น้ำสะอาดในภาชนะที่เป็นขวดพลาสติกมีฝาเกลียว ตามส่วน (ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเพราะเมื่อจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะเกิดแก๊สทำให้ แตกได้) • ใส่ EM ผสมกากน้ำตาลลงในน้ำที่เตรียมไว้ปิดฝาให้มิดชิด • เขย่าให้ละลายเข้ากัน หมักไว้อย่างน้อย 3 – 5 วันวิธีใช้ • นำไปใช้ได้เหมือน EM สด (ยกเว้น การให้สัตว์กิน การฉีดพ่น เพื่อปรับอากาศ ไม่ต้องใส่กากน้ำตาล) และควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน • เมื่อครบ 3 วันขึ้นไปนำไปขยายโดยใช้ส่วนผสมข้างต้นได้อีกวัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ( 1 ช้อนโต๊ะ ) - น้ำ อ้อย น้ำตาลสด น้ำมะพร้าว น้ำชาวข้าว น้ำผลไม้ที่คั้น สดๆ อาทิ น้ำส้ม น้ำสับปะรด ฯลฯ ไม่ ใส่สารกันบูด หรือน้ำตาลทรายแดงผสมน้ำข้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนกากน้ำตาล ปริมาณ ¼ แก้ว - นมข้นหวาน นมเปรี้ยว น้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ - น้ำปัสสาวะ ½ แก้ว 4.2 จุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)ส่วนผสม 1. EM 1 ช้อนโต๊ะหรือ 1 ส่วน 2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ส่วน 3. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1,000 ส่วน วิธีทำ • นำ EM และกากน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน • ในกรณีมีพื้นที่ต้องใช้ปุ๋ยน้ำมากให้เพิ่มตามสัดส่วน วิธีใช้ • ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สัปดาห์ละครั้ง ใบและดอกจะดกบานทน • ไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ชมพู่ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ฉีดพ่น รด ราด เดือนละครั้ง รสชาติดี ผล โต • วันอื่นๆ ให้รดน้ำพืชปกติ • ควรใช้ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น • ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน ปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก หรือ จุลินทรีย์แห้ง (โบกาฉิ) การทำจุลินทรีย์แห้ง หมายถึง การนำเอา EM มาหมักกับอินทรียวัตถุ เป็นการขยายจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีจำนวนมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และพักตัวอยู่ในอินทรีย วัตถุ เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงสภาพดินให้ดินร่วนซุย มีธาตุอาหารที่ สำคัญเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ยังใช้กับการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วยส่วนผสม 1. มูลสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ สุกร เป็ด ค้างคาว วัว ฯลฯ นำมาผึ่งให้แห้ง 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ 2. แกลบดิบ หรือ ฟางแห้ง หรือ หญ้าแห้ง หรือ ใบไม้แห้ หรือ ผักตบชวาแห้ง หรือ ขี้เลื่อย 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ 3. รำละเอียด หรือ มันสำปะหลังป่น หรือ คายข้าว 1 ส่วน หรือ 1 กระสอบ 4. EM + กากน้ำตาล อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันวิธีทำ • คลุกรำละเอียด กับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยให้เล็กเข้าด้วยกัน • นำแกลบดิบ หรือวัสดุ ที่ใช้แทนตัดสั้นๆ จุ่มลงในถังน้ำที่ผสม EM + กากน้ำตาล ไว้ ช้อนเอามา คลุกกับรำ และมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้ว คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน • ความชื้นให้ได้ 40-50% ดูได้จากการทำส่วนผสมเมื่อบีบเป็นก้อนจะไม่มีน้ำไหลออกจากง่ามนิ้ว และแตกเมื่อคลายมือออกหรือเมื่อทิ้งลงพื้น แสดงว่าใช้ได้ • นำส่วนผสมไปใส่กระสอบ ถุงปุ๋ย หรือถุงอาหารสัตว์ ที่ อากาศถ่ายเทได้ ¾ ของกระสอบ ไม่ ต้องกดให้แน่น มัดปากกระสอบไว้พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน วันที่ 2-3 จับกระสอบดูจะร้อน อุณหภูมิประมาณ 50 องศา – 60 องศา วันที่ 4-5 จะค่อยๆ เย็นลง จนอุณหภูมิปกติ เปิดกระสอบดู จะได้จุลินทรีย์แห้งร่วนนำไปใช้ได้ • หากไม่มีกระสอบ หรือทำปริมาณมาก เมื่อผสมกันดีแล้ว ให้นำไปกองบนกระสอบป่าน หรือฟาง แห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ 1 ฟุต แล้วคลุมด้วยกระสอบ หรือ สแลน กลับวันละ 1-2 ครั้ง ให้ อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ 5-7 วัน ดูให้อุณหภูมิปกติจุลินทรีย์แห้งร่วนดี เก็บใส่ถุงไว้ใช้

การวิจัย



การวิจัย (อังกฤษ: research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่างๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่างๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้วย

อาหาร 5 หมู่



อาหาร 5 หมู่
โปรตีน ได้แก่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และพืชบางชนิด
คาร์โบไฮเดรต ได้แก่อาหารจำพวกข้าว และแป้ง
เกลือแร่ ได่แก่อาหารจำพวกผักและผลไม้
วิตามิน ได้แก่อาหารจำพวกผักและผลไม้
ไขมัน มีทั้งไขมันจากพืชและสัตว์
อาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ปลอดภัยเรามักจะเรียกกันว่า "อาหารเป็นพิษ" ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มที่เรียกว่า วิบริโอ ทำให้อาหารเป็นพิษที่รู้จักกันโดยทั่วไปก็คือ อหิวาต์เทียม ซึ่งสามารถจำแนกการเจ็บป่วยจาก อาหารเป็นพิษได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดั้งนี้
อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะลำไส้อักเสบ ซึ่งจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องร่วง
อาการติดเชื้อเข้ากระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีชีวิต
น้ำมันพืช

ดอกกุหลาบ



กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น

ประเภทของดิน




ประเภทของดิน

การจำแนกตามลักษณะของเนื้อดินได้ 3 ประเภท คือ

5.1 ดินทราย ได้แก่ ดินที่มีทรายประกอบอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปโดยน้ำหนัก ดินมีลักษณะเป็นเม็ดใหญ่และมีอากาศในเนื้อดินมากน้ำซึมผ่านได้ง่ายจึงมีความชื้นในดินน้อย
ภาพที่ 7 ดินทราย



5.2 ดินเหนียว ได้แก่ ดินที่มีดินเหนียวประกอบอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นดินที่มีลักษณะเม็ดเล็กละเอียดและมีช่องว่าในเนื้อดินน้อย ลื่นมือ อุ้มน้ำได้ดี
ภาพที่ 8 ดินเหนียว



5.3 ดินร่วน ได้แก่ ดินที่มีส่วนประกอบดินทราย โคลนตม และดินเหนียวโดยปริมาณดินเหนียวและดินทรายไม่มากนัก เม็ดดินขนาดพอเหมาะ ฉะนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว

ประเภทของดิน
การเกิดดิน : สมบัติของดิน : ส่วนประกอบของดิน : ชั้นของดินการใช้ประโยชน์ของดิน : ดินกับการเจริญเติบโตของพืช

บุคคลสำคัญในประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นสามัญชนโดยกำเนิดในตระกูลแต้ ทรงพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮอง ออกจากประเทศจีนมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อนางนกเอี้ยง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นธิดาขุนนาง ครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือเป็นธิดาของเจ้าเมืองเพชรบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล จุลศักราช 1096 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2277 ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลักฐานส่วนใหญ่เชื่อว่า ทรงเคยเป็นพ่อค้าเกวียนผู้ทรงปัญญาเฉลียวฉลาด และมีความสามารถพิเศษด้านกฎหมาย ช่วยกรมการเมืองชำระถ้อยความ ของราษฎรทางภาคเหนืออยู่เนือง ๆ มีความชอบในแผ่นดิน ต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ตำแหน่งพระยาตาก ระหว่างเวลา 15 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ พระองค์ทรงรวบรวมชุมชนไทย ที่ตั้งตัวเป็นชุมนุมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นปึกแผ่น และรวมอาณาใกล้เคียงเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของพระราชอาณาจักรธนบุรีด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พระชนม์พรรษาได้ 48 ปี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว ในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี
กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาราชกปิตัน" บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า เกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นนักรบที่สามารถและเป็นกำลังของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพ และยังทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในการปกป้องประเทศ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา เป็นพระอนุชาร่วมพระราชชนกชนนี กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติใน พ.ศ. 2286 ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับราชการตำแหน่งนายสุจินดามหาดเล็กหุ้มแพร ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์ ภายหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 แล้ว ได้ไปอยู่ที่เมืองชลบุรี ครั้นได้ทราบข่าวว่าพระยาตาก มาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี จึงพาผู้คนไปเป็นพรรคพวก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมหามนตรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระมหามนตรีได้ตามเสด็จ มารับราชการยังกรุงธนบุรี และได้แสดงความสามารถในราชการสงครามจนเป็นที่ประจักษ์ หลังจากศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมายใน พ.ศ. 2311 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย ต่อมาใน พ.ศ. 2313 ก่อนหน้าการปราบชุมนุมเจ้าพระฝางและหัวเมืองพิษณุโลก พระยายมราชในขณะนั้นได้ถึงแก่กรรม พระยาอนุชิตราชาจึงได้เลื่อนเป็นที่พระยายมราช จากนั้นเมื่อเสร็จศึกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช อยู่ครองเมืองพิษณุโลก บังคับบัญชาการป้องกันพระราชอาณาจักรทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ ในช่วงหลังได้มีราชการสงครามครั้งสำคัญอีก 2 ครั้งคือ ที่เมืองเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2321 และที่กัมพูชาอันเป็นศึกในช่วงสุดท้ายที่เกิดขึ้นเวลาเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดการจลาจล เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกแล้ว ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2346
เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิม เจ้าจอมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าหญิง เนื่องจากเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (หนู) หัวหน้าชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จยกทัพไปปราบชุมนุม เจ้านครศรีธรรมราชนั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราชหนีไปพึ่งเจ้าพระยาตานี แต่ถูกคุมตัวส่งมาจำขังไว้ที่ธนบุรี และได้ถวายพระธิดาเป็นข้าบาทบริจาริกา เจ้าหญิงฉิมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ให้เป็นพระสนมเอกที่กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดาในสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ซึ่งภายหลังในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสทั้งสามถูกลดพระยศเป็นที่พระพงษ์นรินทร์ พระอินทรอภัยและพระนเรนทราชา ตามลำดับ เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิมสิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน
เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สันนิษฐานว่า ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2304 ด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกผู้บิดา เป็นที่โปรดปราน และทำความชอบมาก ดังนั้นคุณฉิมจึงได้รับการยกย่องขึ้นเป็นพระสนมเอก หรือที่เรียกกันว่า เจ้าจอมฉิมใหญ่ เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2322 พระชนมายุ 18 พรรษา หลังจากประสูติพระราชโอรส "เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์" ได้เพียง 12 วัน ครั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรย์ศึกกลับจากราชการสงคราม จึงได้จัดงานศพอย่างสมเกียรติยศทุกประการ ภายหลังเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ในฐานะพระราชธิดา เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฉิมใหญ่ ส่วนเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ โปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
เมื่อกรุงศรีอยุธยาใกล้แตก เจ้าพระยาจักรี (แขก) ข้าราชการชาวมุสลิม ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงนายศักดิ์ ชื่อเดิม "หมุด" ไปราชการที่จันทบุรี หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว จึงตกค้างอยู่ ณ เมืองจันทบุรี และได้มาเฝ้าถวายตัว กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รับราชการงานทั้งปวง ด้วยเป็นข้าราชการเก่า รู้ขนบธรรมเนียมอย่างดี นอกจากนั้น ยังเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นแม่ทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมในคราวปราบชุมนุมต่างๆ รวมทั้งเมืองนครศรีธรรมราชด้วย เจ้าพระยาจักรี (แขก) ถึงแก่อสัญกรรมในปีเถาะ พ.ศ. 2314
เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ประสูติแต่ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ (เจ้าครอกหญิงใหญ่) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2322 หลังจากประสูติ ได้ 12 วัน พระราชมารดาก็สิ้นพระชนม์ ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอยู่ในฐานะพระราชนัดดา ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ พวกข้าราชการเรียกพระนามโดยย่อว่า "เจ้าฟ้าอภัย" รัชกาลที่ 1 ทรงเห็นว่าไปพ้องกับพระนามเจ้าฟ้า 2 พระองค์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงโปรด พระราชทานนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต ทรงมีวังที่ประทับอยู่ที่ถนนหน้าพระลานด้านตะวันตกที่เรียกว่า "วังท่าพระ" เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต คิดการกบฏ แต่ถูกจับได้ หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้นภาลัย จึงโปรด ให้ชำระโทษถอดพระยศ แล้วนำไปประหารที่วัดปทุมคงคา ส่วนผู้ร่วมคิดการกบฏคนอื่น ๆ ได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ ในครั้งนั้น พระโอรสพระธิดา ในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วย จึงไม่มีผู้สืบสายสกุล
เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า "จุ้ย" เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา มีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ดำรงตำแหน่งรัชทายาท ทรงช่วยราชการทำศึกสงครามอย่างหนัก มาตลอดพระชนม์ชีพ ในคราวที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงให้แต่งทัพขึ้นไปตีกัมพูชาในกลาง พ.ศ. 2324 เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ผนวชอยู่ ก็ได้ทรงลาผนวชและเสด็จเป็นทัพหนุนในศึกครั้งนั้นด้วย เนื่องจากสมเด็จพระบรมชนกได้มีพระราชดำริจะทรงสถาปนาให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา แต่เกิดเหตุการณ์จลาจลในกรุงธนบุรี ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแผ่นดินเสียก่อน เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ยังคงประทับที่กัมพูชา เมื่อผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จึงได้หนีไปยังเขาน้อย แต่ก็ถูกจับได้ และทรงถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดา พร้อมกับพระยากำแหงสงคราม นายทหารผู้ร่วมกรำศึกมาทุกสมรภูมิ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ทรงเป็นต้นราชสกุล สินสุข และ อินทรโยธิน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระนามเดิมว่า ด้วง ประสูติในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้สถาปนาเมืองธนบุรี ขึ้นเป็นราชธานี จึงได้เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี โดยได้รับการชักชวนจากน้องชายคือ นายสุจินดา หรือ บุญมา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ซึ่งรับราชการใกล้ชิดอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแต่ก่อนแล้ว ทำให้ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งที่สูงขึ้น คือ ได้เป็นพระราชวรินทร์ สังกัดในกรมพระตำรวจใน พ.ศ. 2311 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นแม่ทัพคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในราชการศึกสงครามหลายครั้งหลายคราว ตลอดสมัยกรุงธนบุรี ราชการทัพสำคัญของพระองค์ใน พ.ศ. 2323 เกิดจลาจลขึ้นในกัมพูชา เสด็จเป็นแม่ทัพไปปราบปรามแต่ยังไม่ทันสำเร็จเรียบร้อย ทางกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล จึงต้องรีบยกทัพกลับมาปราบปรามระงับเหตุวุ่นวายในกรุงธนบุรี จนสงบราบคาบ ข้าราชการและราษฎรทั้งปวง พร้อมใจกันอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา
พระยาพิชัย มีชื่อเดิมว่า จ้อย ต่อมาได้ชื่อว่า "ทองดี" เป็นบุตรชาวนา อยู่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตด์) ได้ศึกษาวิชามวยกับครูที่มีชื่อหลายคน ออกชกมวย จนมีชื่อเสียง และได้หัดฟันดาบที่สวรรคโลกจนเก่งกล้าเมื่อมีโอกาสได้ไปเมืองตาก เป็นช่วงที่มีงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และมีมวยฉลองด้วยพอดี นายทองดี หรือที่ได้รับสมญาเรียกว่านายทองดีฟันขาว ก็เข้าเปรียบกับมวยชั้นครูและชกชนะสองคนรวด พระเจ้าตากเห็นฝีมือนายทองดีฟันขาวเช่นนั้น ก็ทรงชวนให้ไปอยู่ด้วย ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงพิชัยอาสา ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงช่วงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อครั้งพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา หลวงพิชัยอาสาเป็นกำลังตีฝ่ากองทัพพม่าออกไปด้วย หลังจากที่ซ่องสุมผู้คน และเตรียมกำลังรบอยู่ที่เมืองจันทบุรี จนพอเหมาะแก่การรุกไล่ทัพพม่าแล้ว พระเจ้าตากจึงยกกองทัพเรือขึ้นมาตีเมืองธนบุรีได้ แล้วให้หลวงพิชัยอาสา เป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นได้สำเร็จ ครั้นเมื่อพระเจ้าตากได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์ ตลอดระยะเวลาที่ทำสงครามปราบชุมนุมต่าง ๆ เพื่อรวมไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หลวงพิชัยอาสาหรือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ถือดาบออกหน้าทหารอย่างกล้าหาญสู้อย่างเต็มความ สามารถ จนได้เลื่อนเป็นพระยาสีหราชเดโช และเป็นพระยาพิชัยได้ครองเมืองพิชัยในที่สุด เมื่อพระยาพิชัยเป็นเจ้าเมืองพิชัยอยู่นั้น โปสุพลาได้ยกทัพลงมาตีเมืองพิชัย คราวนั้นพระยาพิชัย ได้ถือดาบสองมือ คุมทหารออกต่อสู้ป้องกันพม่าจนดาบหัก เป็นที่เลื่องลือจนได้นามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" ชีวิตราชการของพระยาพิชัยดาบหักน่าจะรุ่งเรือง และเป็นกำลังป้องกันบ้านเมือง ได้เป็นอย่างดีในแผ่นดินต่อมา หากแต่พระยาพิชัยดาบหักเห็นว่าตัวท่าน เป็นข้าหลวงเดิมของพระเจ้าตาก เกรงว่านานไปจะเป็นที่ระแวงของพระเจ้าแผ่นดิน และจะหาความสุขได้ยาก ประกอบกับมีความเศร้าโศกอาลัย ในพระเจ้าตากอย่างมาก จึงได้กราบทูลว่าจะขอตายตามสมเด็จพระเจ้าตาก ดังนั้นจึงได้ถูกประหารชีวิต เมื่ออายุได้ 41 ปี พระยาพิชัยดาบหัก เป็นต้นตระกูล วิชัยขันธะ
เจ้าเมืองชลบุรี เดิมชื่อนายทองอยู่ นกเล็ก เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปถึงเมืองระยองได้ทรงทราบว่านายทองอยู่ นกเล็ก กับกรมการเมืองระยอง สมคบกันรวบรวมผู้คนจะยกมาประทุษร้ายพระองค์ จึงวางแผนซ้อนซุ่มโจมตีกองทหารของทั้งสองแตกกระจายไป ส่วนนายทองอยู่ นกเล็ก หนีไปอยู่เมืองชลบุรี ภายหลังได้ยอมเข้ามอบตัวมาสวามิภักดิ์ จึงโปรดตั้งให้เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทรครองเมืองชลบุรี แต่ต่อมาปรากฏว่าประพฤติมิชอบ ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นเรือสำเภา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินเคลื่อนทัพมุ่งไปยังปากน้ำเจ้าพระยาได้ทราบความ จึงหยุดประทับไต่สวนที่เมืองชลบุรี ได้ความว่าพระยาอนุราชผิดจริง จึงถูกประหาร ชีวิต
หลวงพิชัยราชาเป็นนายทหารผู้หนึ่ง ที่ได้ติดตามพระเจ้าตาก ตีฝ่าวงล้อมของพม่าไปสะสมผู้คนที่เมืองระยอง และเป็นทูตนำอักษรสาร ไปเกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐี ณ เมืองพุทไธมาศ ให้มาเข้าเป็นพวกได้สำเร็จ ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากปราบเมืองจันทบุรีได้แล้ว หลวงพิชัยราชามีหน้าที่ควบคุมดูแลการต่อเรือรบ และเป็นกองหน้า ตีตะลุยขับไล่พม่าตั้งแต่เมืองธนบุรีไปจนถึงโพธิ์สามต้น หลวงพิชัยราชาได้เป็นทหารเอกของพระเจ้าตากตลอดมา จนเมื่อพระเจ้าตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาหลวงพิชัยราชาขึ้นเป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา ต่อมาเมื่อตีเมืองสวางคบุรีได้แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพิชัยราชาเป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ครองเมืองสวรรคโลก ครั้นเมื่อคราวโปสุพลาและโปมะยุง่วน หนีออกจากเมืองเชียงใหม่ได้ ทางด้านค่ายเจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าพระยาสวรรคโลก จึงต้องโทษโบย 50 ที และเข้าใจว่าคงจะถูกย้ายเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น จนกระทั่งถึงอสัญกรรมในราวปี พ.ศ. 2319

หิ่งห้อย



หิ่งห้อย นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้เป็น “ตัวห้ำ” ในการควบคุมศัตรูพืชตามหลักการทางชีวภาพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทย
หิ่งห้อยนี้ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกินหอยเล็กๆ เป็นอาหาร ซึ่งหอยเหล่านั้นเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนั้น หิ่งห้อย ยังเป็นตัวห้ำ ทำลายหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญกัดกินทำลายต้นข้าวในระยะลงกล้าและระยะปักดำใหม่ๆ หิ่งห้อยจึงเป็นแมลงที่มีความสำคัญทั้งในด้านการแพทย์และการเกษตร
ในกรุงเทพฯนี้ ในอดีตบริเวณปากคลองบางลำพู เคยมีหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก แต่ก็หมดไป เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้นเปลี่ยนไป เมื่อ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรร่วมกับกรุงเทพมหานครได้บูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ และสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าพักผ่อนหย่อนใจน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล ได้มีการปลูกต้นลำพู และเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตบางลำพูในอดีตด้วย
สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกาะลัด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะเห็นแสงของหิ่งห้อยได้อย่างชัดเจน

การจัดพาน

เดือนมิถุนายนวนเวียนมาถึงอีกครั้ง บรรดานักเรียนทั้งหลายคงจำกันได้ดีว่า วันพฤหัสบดีแรกของเดือนมิถุนายน จะเป็นวันไหว้ครู ซึ่งตามโรงเรียนต่าง ๆ ก็จะมีพิธีการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์.... ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับการไหว้ครูแบบดั้งเดิมในสมัยโบราณ ... ส่วนจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันหรือไม่ อย่างไรนั้นลองไปอ่านดูกันเลย… แต่ก่อนอื่นกระปุกดอทคอมจะพาไปทำความรู้จักถึงความหมายของ วันไหว้ครู รวมทั้งที่ไปที่มาของคำว่า "ครู" กันก่อนค่ะ "ครู" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน ด้วยเหตุนี้เอง "การบูชาครู" หรือ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต ในความหมายของ "การไหว้ครู" ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่า ตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู นี้มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา

การปลูกคะน้า



การปลูกคะน้า
ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมา โดยปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น อายุตั้งแต่หว่านหรือหยอดเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าเป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดี ที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน
การเพาะกล้า
1. การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม 2. การเตรียมดินบนแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว 3. การเพาะ หว่านเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอทั่วแปลง กลบเมล็ดด้วยดินหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวรดน้ำ 4. การดูแลต้นกล้า ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป ผสมสารละลายสตาร์ทเตอร์โวลูชั่นในน้ำแล้วนำไปรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิดขึ้น เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จึงทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป
วิธีการปลูก
การปลูกคะน้านิยมปลูก 2 แบบ คือ 1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ทำเป็นการค้า 2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว เตรียมดินโดยการใช้แรงงานคนให้น้ำโดยใช้บัวรดน้ำ ระยะปลูก ควรให้มีระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20 X 20 เซนติเมตร การเตรียมแปลงปลูก มีวิธีการดังนี้ 1. ขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร 2. ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน 3. นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่ คลุกเคล้าให้เข้ากับดินเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน 4. พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะการปลูกแบบหว่านลงในแปลง เพื่อไม่ให้เมล็ดตกลงไปในดิน เพราะจะไม่งอกหรืองอกยากมาก 5. ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ในการปลูกคะน้านิยมหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงมากกว่าย้ายกล้า โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงโดยให้เมล็ดห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร 2. ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย 3. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ 4. รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน 5. หลังจากต้นคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มถอนแยก โดยเลือกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้ 6. เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 30 วัน ให้ถอนแยกครั้งที่ 2 ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตรต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออก แล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้ 7. ในการถอนแยกคะน้าแต่ละครั้งควรกำจัดวัชพืชไปด้วย
การให้น้ำ
1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ 2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น
การใส่ปุ๋ย
คะน้าต้องการปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง อาจใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ หลังจากถอนแยกครั้งแรกและหลังจากถอนแยกครั้งที่ 2
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
อายุการเก็บเกี่ยวของคะน้าอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้ 1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น 2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง 3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้ 1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย 2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ 3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป 4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น 5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด
ที่มา : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2345105100/02.htm

การรีดนมวัว




นม เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เป็นแหล่งอาหารโปรตีนและแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ และการเจริญเติบโตของร่างกาย
นมที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีความหลากหลาย แต่ละชนิดผลิตออกมาเพื่อจุดประสงค์ และกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน จึงทำให้มีตัวเลือกของนมมากขึ้น และน้ำนมที่ได้จากโคนั้น ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่ดี โดยการทำพาสเจอร์ไรส์ และ ยู เอช ที ซึ่งแต่ละวิธีจะมีอายุการเก็บรักษาไม่เท่ากัน
ในปัจจุบันมีการเลี้ยงโคนมในเมืองไทยมากขึ้น มีการผลิตน้ำนมได้ประมาณ 600 ตัน รัฐบาลจึงปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยพัฒนาจากพันธุ์โคที่มีสายพันธุ์ดี มีการปรับปรุงเรื่องของอาหาร การถ่ายเทของอากาศที่ดี ไม่ร้อนจัด ทำให้โคนมให้น้ำนมเฉลี่ยต่อวันสูง จึงเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจ เพราะสามารถทำรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

การรีดนมวัว การรีดนมวัว จะรีดได้จากการที่แม่โคคลอดลูกแล้ว โดยมีระยะเวลาในการรีดนมได้ประมาณ 10 เดือน ส่วนใหญ่จะนิยมรีดน้ำนมวัวได้วันละ 2 เวลา คือ เช้าตรู่ และตอนเย็น จะมีระยะห่างในการรีดประมาณ 10-12 ชั่วโมง แม่โคต้องมีสุขภาพดี ปลอดจากโรคต่าง ๆ การรีดนมวัวในขั้นแรก เตรียมเครื่องรีดนมวัว ซึ่งมีส่วนประกอบ 4 อย่างด้วยกันคือ เครื่องปั้มลม ท่อสุญญากาศ เครื่องดูดน้ำนม และถังรับนม ต้อนแม่โคออกจากคอก เพื่อนำไปเข้าโรงรีดนม โดยลักษณะของโรงรีดนมจะทำเป็นช่อง ๆ ให้อาหารเสริมใส่รางให้แม่โค เพื่อให้แม่โคกินในขณะที่รีดนม เมื่อแม่โคเข้ามาในช่องเรียบร้อยแล้ว ดึงที่ล็อคคอยึดตัวแม่โคไว้ เพื่อกันแม่โคเดินไปมาในขณะรีดน้ำนม ก่อนการรีดนมโคทุกครั้ง ต้องทำความสะอาด โดยใช้ผ้าชุบคลอรีนเช็ดเต้านมของแม่โค แล้วใช้มือรีดน้ำนมออกมาตรวจสอบน้ำคลอรีน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำนม นำเครื่องดูดน้ำนมสวมเข้ากับเต้านมวัว เครื่องทำงานโดยอัตโนมัติ การรีดควรรีดให้เสร็จภายในเวลา 5-7 นาที เมื่อน้ำนมหยุดไหลให้รีบเอาเครื่องออกจากเต้าทันที แล้วทำการเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อเต้านมอีกครั้ง หลังจากที่รีดนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว แม่โคทุกตัวจะถูกต้อนให้เข้าคอกที่พัก แล้วให้หญ้ากินอีกครั้ง นำน้ำนมดิบที่ได้ไปชั่งกิโลดูว่า แม่โคแต่ละตัวจะให้ปริมาณน้ำนมมากหรือน้อย ทำการจดบันทึกประจำวัน แล้วนำน้ำนมที่ชั่งได้เทใส่ถังบรรจุนม ที่ถังจะต้องมีหม้อกรอง ผ้าขาวบางสำหรับกรองน้ำนม แล้วทำการปิดฝาถังนมให้สนิท ทำความสะอาดอุปกรณ์การรีดทุกชิ้น หลังจากที่รีดเสร็จแล้ว จะต้องล้างทำความสะอาดตากแดดให้แห้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง
การจัดจำหน่าย น้ำนมที่ได้นั้น สามารถจัดส่งให้สหกรณ์หรือแหล่งรับซื้อต่าง ๆ เพื่อนำน้ำนมไปฆ่าเชื้อ ผู้รับซื้อนมหรือสหกรณ์ที่เป็นแหล่งรวบรวมน้ำนมนั้น จะต้องทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมก่อน ว่า สะอาดและมีสิ่งเจือปนหรือไม่ แล้วทำการบรรจุลงภาชนะเพื่อการจัดจำหน่ายต่อไป
เคล็ดลับ การรีดน้ำนมให้มีคุณภาพ ควรดูแลโรงเรือนในเรื่องของการถ่ายเทอากาศ หรือทำสเปรย์พ่นน้ำให้แม่โค เพื่อลดความร้อน ทำให้แม่โคไม่เครียด ให้แม่โคกินหญ้าหลังการรีดทุกครั้ง และให้อาหารเสริมอย่างเพียงพอ จะทำให้ได้น้ำนมตามปริมาณ และคุณภาพที่ดีตามต้องการ



การรีดนมวัว